ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

take a break with this

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

my macro on 2/4/2012

Today i take this picture.

spider

I think it interesting. 
This picture take in manual mode and flash ETTL under -1 2/3 STOP.

Have funny, GoodLight.

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายเห็ด


เทคนิคการถ่ายภาพเห็ดแชมเปญ




เห็ดถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศไม่น้อย เพราะเป็นตัวการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้เป็นปุ๋ยคืนสู่ดิน นอกจากนี้เห็ดยังเป็นความบันเทิงเล็กๆของคนเดินป่าอีกด้วย เพราะใครที่เข้าไปเที่ยวป่าโดยเฉพาะในหน้าฝน หากใช้สายตาสังเกตสอดส่องอาจมีโอกาสพบเห็นดอกเห็ดป่าขึ้นอวดโฉม อยู่ตามพื้นดิน ท่อนไม้ ขอนไม้ และที่ชื้นแฉะ
             
เห็ดป่ามีทั้งที่ ส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นเหม็น และไม่ส่งกลิ่น ขณะที่รูปร่างของเห็ดป่านั้นก็มีหลากหลาย บางชนิดดูเหมือนเห็ดทั่วไป บางชนิดมีสีสันสวยงามแปลกตา บางชนิดดูไม่เหมือนเห็ด บางชนิดสีขาวจืดชืด บางชนิดสีคล้ำเขรอะไม่น่ามอง
              
เห็ดป่าหลายชนิด สำหรับผมถือเป็นงานศิลปะประดับป่าชั้นยอด อย่างจำพวก เห็ดขอนที่ขึ้นเรียงรายไล่ดอกจากเล็กไปหาใหญ่ เห็ดถ้วย-เห็ดแชมเปญ ที่แม้จะเล็กกระจิดริดแต่ให้สีส้มสดของมันช่างสะดุดตานัก เห็ดร่างแหที่สยายร่างเหมือนแหประดับพื้นดิน หรือจำพวกเห็ดที่ดูไม่เหมือนเห็ด แต่ดูเป็นรูปร่างอื่น อย่าง ตะกร้อ ปะการัง ไอศกรีม ดอกไม้ แท่งเทียน เป็นต้น
              
อย่างไรก็ตามบรรดาเห็ดป่าที่ให้สีสันสวยงามเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นเห็ดมีพิษ ประเภทสวยแต่รูปจูบไม่ได้ เพราะถ้าใครขืนจูบจะโดนพิษของเห็ดทำอันตรายเข้าได้ หรือไม่ควรแม้แต่ที่จะไปจับ สัมผัส แตะต้องมันด้วยประการทั้งปวง ควรปล่อยให้มันอยู่ของมันไปตามธรรมชาติเป็นดีที่สุด
              
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเห็ดสีขาวจะกินได้เสมอไป เพราะเห็ดสีขาวบางชนิดมีพิษกินแล้วอาจตายได้ ในขณะที่เห็ดมีสีบางชนิดก็กินได้แถมอร่อยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นวิธีการดูเห็ดว่ามีพิษหรือไม่จึงต้องรอบคอบระมัดระวังเป็นพิเศษ
              
เรียกได้ว่าสิ่งเล็กที่เรียกว่า“เห็ด”นี่คล้ายกับคนไม่น้อยเลย คือเดาได้ยากเต็มที บางคนดูดีสวยงามแต่แฝงไว้ด้วยความร้ายเหลือ ขณะที่บางคนดูเรียบง่ายใสซื่อแต่ก็แฝงไว้ด้วยความร้ายกาจเช่นกัน



การถ่ายภาพเห็ดแชมเปญ 


เห็ดชนิดนี้จะพบตามป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีความชื้นสูง ต้องกดดูดีๆ มีขนาดเล็ก เกาะตามขอนไม้







ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ Goodlight ^_^

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพเส้นแสงดาว Startrail photography

ปกติผมก็ทำงานเวลากลางวัน เลิกงานมาผมจึงมักจะมองหาสถานที่ที่จะถ่ายภาพกลางคืน แล้วก็พบว่าภาพกลางคืนก็สวยงามไปอีกแบบไม่แพ้ภาพตอนกลางวันเลย  ผมมักจะมองไปบนท้องฟ้าตอนดึก เพื่อดูว่าท้องฟ้าเป็นอย่างไร ฝนจะตกหรือไม่ มีดาวหรือป่าว และเรื่องวันนี้ก็จะพูดเรื่องการถ่ายภาพเส้นแสงดาวหรือ (Startrail)

ช่วงเวลา
ช่วงที่เหมาะสมคือหน้าหนาวครับ ประมาณเดือนพฤศจิกายน จนถึง กุมภาพันธ์ ท้องฟ้าจะใสเมฆน้อย ส่วนหน้าร้อนช่วงก่อนสงกรานต์ก็พอถ่ายได้ครับ แต่จะมีเมฆผ่านมาบ้างทำให้ไม่สะดวกในการถ่ายภาพแสงดาวนัก ส่วนหน้าฝนแทบจะไม่มีโอกาสเลย เพราะมีเมฆตลอดเวลา ฟ้าหลัว


วางแผน
คืนที่เหมาะกับการถ่ายภาพเส้นแสงดาวคือเดือนข้างแรม ประมาณ แรม10ค่ำ -15ค่ำ และขึ้น 1ค่ำ - 5ค่ำ ท้องฟ้าจะมืดเห็นดาวชัดเจน ส่วนข้างขึ้น 15ค่ำ ไม่เหมาะจะเห็นดาวน้อยแต่หากถ่ายก็คงเป็นเส้นแสงจันทร์แทนเส้นแสงดาว

อุปกรณ์
-กล้อง ต้องเป็นกล้องที่สามารถตั้งเวลาถ่ายภาพได้ และเปิดหน้ากล้องนานๆได้ นานกว่า30วินาที
-เลนส์ ควรเป็นเลนส์ที่ปรับโฟกัสเองได้ เนื่องจากความมืดทำให้กล้องหาโฟกัสไม่ได้
-ไฟฉาย ควรพกติดไว้ ใช้ส่องหาอุปกรณ์ มองพื้นต่างๆว่าปลอดภัยมีสัตว์ต่างๆหรือไม่ ดูการตั้งค่ากล้อง และใช้ส่องที่วัตถุเพื่อช่วยหาโฟกัส
-แบตเตอรี่ ควรชาร์ตมาให้ไฟเต็ม หรือแน่ใจว่าสามารถถ่ายได้เวลานานพอ
-ขาตั้งกล้อง สำคัญมาก ควรยึดล็อคให้แน่นหนา ขาตั้งกล้องราคาถูกจะมีตัวยึดหมุนหลายตัว ตรวจสอบว่ามั่นคงดี ส่วนขาตั้งกล้องราคาสูงมักจะมีตัวปรับยึดไม่กี่จุดแต่สามารถปรับได้หลายระดับ เก็บสายคล้องกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ และสายสะพายของขาตั้งให้เรียบร้อย เนื่องจากลมอาจจะทำให้กล้องสั่นไหวได้
-ถุงพลาสติก หรือผ้า กันน้ำค้างในกรณีที่น้ำค้างมาก อากาศหนาวเย็น
-เข็มทิศ และแผนที่ดูดาวช่วยในการหาตำแหน่งดาว เพราะการหันกล้องคนละทิศจะได้ภาพไม่เหมือนกัน


การถ่ายภาพเส้นแสงดาว หากเป็นแต่ก่อนใช้กล้องฟิลม์ก็คงต้องเปิดนานๆยาวๆ แต่ก็มีข้อเสียที่แสงจากเมือง แสงอื่นๆ ทำให้ภาพ over ได้ สมัยนี้ใช้กล้องดิจิตอลการเปิดหน้ากล้องนานๆหลายชม.ก็ไม่เหมาะเพราะจะเกิด noise และ hot spot ในภาพได้ แต่ก็มีซอฟต์แวร์ช่วยทำให้ไม่ต้องเปิดรับแสงทีเดียวนานๆ แต่เป็นเปิดช่วงสั้นๆ แล้วก็ปิดพักแล้วก็ถ่ายต่อ และรวมภาพทั้งหมดด้วยซอฟต์แวร์
ที่ผมรู้จักและใช้งานได้ง่าย ก็มี 
startrails ตัวนี้ใช้ง่ายแค่โหลดภาพทั้งหมดมา และ รอผล

วิธีใช้งานโปรแกรมStartrails

ภาพตัวอย่างในวันนี้ ผมใช้ทั้งหมด 46 ภาพ เปิดรับแสงภาพละ 31 วินาที และเว้น 30 วินาที เวลาทั้งหมดจึงประมาณ 46 นาที



ภาพแรกผมถ่ายแทงค์น้ำนี้ เป็นคืนที่ท้องฟ้าค่อนข้างสดใจ เห็นดาวมาก ผมถ่ายที่แทงค์น้ำ และใช้ไฟฉายส่องที่แทงค์น้ำให้มีแสงแดง ปนสีอื่นเล็กน้อย

startrail 1


ภาพที่สอง ผมถ่ายต่อเนื่องกัน โดยใช้ไฟฉาย ส่องไปที่แทงค์น้ำให้มีสีเขียวบ้าง


startrail 2
จากนั้นผมก็เปิดรับแสง ถ่ายไปเรื่อยๆ ทั้งหมด 46 ภาพ 
จนสุดท้ายได้ภาพนี้ 



ภาพนี้หันไปทางทิศใต้ จึงได้ภาพโค้งๆ เช่นนี้นะครับ ถ้าหันไปทางเหนือ เส้นแสงดาวที่เห็นจะ จะเป็นวงกลม วนรอบดาวเหนือ เนื่องจากแกนโลกหมุนตรงกับดาวเหนือพอดี จึงมองเหมือนดาวเหนือไม่ได้ขยับเลย ความจริงขยับเล็กน้อย แต่ดาวอื่นหมุนรอบดาวเหนือ

แต่หากถ่ายหันไปทางทิศตะวันออก และตะวันตก ก็จะต่างกัน แต่จะคล้ายกันคือเป็น เส้นแนวตั้ง เฉียงเล็กน้อย ตามตำแหน่ง ที่เราถ่าย และฤดูกาลด้วยครับ


ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ แสดงความคิดเห็นได้นะครับ.



วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

การใช้ฟิลเตอร์เพื่อเพิ่มเวลาเปิดชัดเตอร์


คุณสามารถเพิ่มเวลาในเปิดสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น(long exposure)ได้ ด้วยการใช้เทคนิค ควบคุมรูรับแสงให้แคบ(F.Stop) และการใช้ฟิลเตอร์ที่ลดแสงลง เรียกว่า ND filter(neutral Density filter)

การปรับรูรับแสงให้แคบ ก็จะทำให้ได้ความชัดลึกเพิ่มขึ้น แล้วถ้าปรับถึงที่สุดแล้ว ยังได้สปีดชัตเตอร์ที่สูงอยู่ ก็ทำอะไรอีกไม่ได้

ส่วนการใช้ฟิลเตอร์ชนิด ND นี้ จะทำให้ภาพมืดลง ทำให้ต้องเพิ่มสปีดชัตเตอร์ขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความชัดลึก ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบเต็มแผ่นระดับความเข้มเท่ากันหมด, แบบแบ่งครึ่งระดับความเข้มตัดกันเลย, แบบแบ่งครึ่งแต่ระดับความเข้มค่อยๆเพิ่มไปแบบนุ่มนวล, และแบบกลับด้านก็มี คือกลางฟิลเตอร์ไล่จากเข้มมากไปหาเข้มน้อย และมีให้เลือก

การใช้ฟิลเตอร์แบบนี้ ก็เพื่อหวังผลให้ได้การเปิดสปีดชัตเตอร์ที่นานขึ้น ส่งผลต่อภาพถ่ายให้เกิดความเบลอ(blur) มากขึ้น หรือเกิดการเคลื่อนไหวของภาพมากขึ้น

น้ำตกกระทิง 

การใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ long exposure ใช้ได้ผลดีกับภาพประเภท น้ำตก, น้ำทะเล, เมฆเคลื่อนไหว

จากภาพน้ำตกตัวอย่างนี้ มีแสงแดดมาก ทำให้ได้สปีดชัตเตอร์ค่อนข้างเร็ว ทำให้สายน้ำไม่เป็นสายอ่อนนุ่มสวยงาม

ภาพนี้จึงใช้ฟิลเตอร์ ND แบบเต็มแผ่น ใส่ปิดหน้าเลนส์ แล้วจึงเปิดความเร็วชัตเตอร์นานๆ

ทำให้ได้ภาพถ่ายสายน้ำที่อ่อนนุ่ม สวยงามกว่าไม่ได้ใช้ ส่วนเทคนิคการถ่ายภาพ วัดแสง ฯลฯ ก็ใช้เหมือนปกตินะครับ แค่ใส่ ฟิลเตอร์เข้าไปที่หน้าเลนส์ และดูค่าสปีดชัตเตอร์ที่กล้องวัดได้ ถ้าเปิด 30 วินาที กล้องหลายรุ่นมักจะไม่แสดงผลที่เกิน 30 วินาที

จำเป็นต้องใช้
เทคนิคการคำนวณการเปิดค่าสปีดชัตเตอร์ และเปิดตามที่ได้คำนวณไว้

ส่วนภาพถ่ายที่ต้องเปิดรับแสงนานๆอย่างนี้ จำเป็นต้องมีขาตั้งกล้อง หรือ ถุงทราย สำหรับวางกล้องให้มั่นคง ไม่สั่นไหว

น้ำตกเจ็ดคตเหนือ

ภาพถ่ายนี้ก็เทคนิคเดียวกันครับ แต่ภาพนี้รอให้แสงแดด เข้าเงาก่อน ทำให้แสงอ่อนเท่าๆกัน










ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ  เมื่อมาเยี่ยมชมแล้วก็โปรดแสดงความคิดเห็น.. Good Light.

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

macro แมงมุมหนาม



ขณะที่ผมไปถ่ายภาพวันนึง ผมก็พบ แมงมุมสีสรรสวยตัวนี้เข้าครับ สีมันสวยจนน่ากลัว จากสารคดีเรื่องงูต่างๆ พบว่ายิ่งงูสีสวยมักจะยิ่งมีพิษร้ายแรง ตัวนี้จึงทำผมกลัวหน่อยๆ แต่ก็แอบย่องไปถ่ายภาพมันจนได้


แมงมุมหนาม 1
มันกางใยเป็นบริเวณกว้างมาก สูงตั้งแต่ประมาณเข่าผมจนถึงประมาณผมยืนชูแขนแล้วสูงเท่าศอก ส่วนความกว้างก็ลำตัวผมบวกกับกางแขนสุด 1 แขน

แมงมุมแต่ละชนิด มีวิธีล่าเหยื่อไม่เหมือนกัน แมงมุมมีอยู่มากมาย หลายชนิดมากบนโลก

และการถ่ายภาพ Macro แมงมุม ก็ถือว่าไม่ยากนัก หาได้ง่าย และมันมักจะอยู่นิ่งๆ เมื่อเจอแล้วมันก็ไม่ค่อยหนี เราสามารถตั้งขาตั้ง จัดตำแหน่งได้เป็นเวลานาน โดยมันไม่หนี นอกจากพวกแมงมุมกระโดด ซึ่งแมงมุมพันธ์นั้น ไม่กางใยในการล่าเหยื่อ ใช้วิธีกระโดดเข้าใส่เลย และกระโดดได้ไว และไกลด้วย เมื่อเราเข้าใกล้แบบไม่ระวัง มันก็กระโดดหนีไปแล้วครับ หามันอีกครั้งก็ยากซะด้วย

ส่วนตัวนี้จะว่าง่าย ก็ไม่ง่ายนะครับ ด้วยใยที่มันชักกว้างมาก ลมก็แรง ตอนที่ถ่าย ลมทำให้ใยมันสะบัด ตัวมันไหวมาก จับโฟกัสยากมาก

แมงมุมตัวนี้มาค้นเจอทีหลังว่าเรียกว่าแมงมุมหนาม แมงมุมหนามไม่มีอันตรายต่อคน (แต่สีสรรมันทำให้ผมหยองๆอยู่ดี)
แมงมุมหนามมีประมาณ 70 สายพันธ์พบได้ทั่วโลก

คาดว่าสีของมันคงล่อให้แมลงคิดว่าเป็นดอกไม้มั้งครับ ขณะที่ผมก้มพยายามถ่ายมันอยู่ ก็มีผีเสื้อบินมาติดใย และมันก็ตรงดิ่งไปจัดการทันที
ผีเสื้อเพิ่งติดใย

มันดิ่งเข้าไปอย่างรวดเร็ว และทำการม้วนผีเสื้อไว้กับใยของมัน
เริ่มม้วน
แล้วก็ม้วนจนเป็นก้อนแน่น
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ
ยังคงม้วนต่อไป
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 2
ที่ถ่ายนี่เกิดขึ้นเร็วมากนะครับ เพื่อนผมที่ถ่ายด้วยกัน ถ่ายไม่ได้เลย เพราะลมก็พัด แมงมุมก็ขยับมาจัดการเหยื่อ
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 3
จนเป็นก้อนประมาณนี้

แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 4
เมื่อเป็นก้อน มันก็ทิ้งไว้ก่อนยังไม่กินตอนนี้ครับ แต่ไม่ทันไร แมลงอีกตัวก็มาติดใยมันอีก มันก็ตรงดิ่งไปจัดการอีกครั้ง แต่เสียใจด้วย ลมมาแรง ถ่ายไม่ได้เลยครับ ^_^

มันจัดการม้วนตัวที่สองแล้วก็เอามารวมเข้ากับตัวที่ 1 เลยครับ เป็นก้อนเดียวกัน 

ธรรมชาติที่ต้องล่าเหยื่อดูโหดร้าย แต่นี่คือธรรมชาติ มนุษย์เราก็โหดร้ายเช่นกัน ทั้งฆ่าหมู, ฆ่าไก่, จับแมลงมาทอด, ฆ่าทุกอย่างเพื่อมากินหรือบางครั้งก็แค่สนุก จนบางชนิดสูญพันธ์ หรือใกล้สูญพันธ์เต็มที 


วันนี้ก็ลาไปด้วยภาพ Macro แมงมุมหนาม ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพ Good Light.