ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายพระเมรุ - สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ



สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี

พระประสูติกาล
ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียรพระบรมมหาราชวัง ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนัก ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานซึ่งอยู่ติดกับพระที่นั่งเทพสถานพิลาส สมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๖ ทรงมีโอกาส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต ในวันรุ่งขึ้น


สิ้นพระชนม์
ในบั้นปลายพระชนมชีพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯประชวรด้วยพระโรคหลอดเลือดสมอง และทรงพระชราครั้นวันพุธที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้เสด็จไปประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก ๘๔ ปี ชั้น ๕ โรงพยาบาลศิริราช พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับและสิ้นประชนม์เมื่อเวลา ๑๖.๓๗ น. ของวันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ รวมพระชมมายุ ๘๔ พรรษา

การพระศพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละออกธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย ๑๐๐ วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ในวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ อีกทั้งมีการจัดงานภาคประชาชน พิธีถวายดอกไม้จันทน์ตามซุ้มรอบมณฑลพระราชพิธี และสถานที่กำหนดในเขตต่างๆของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนทุกจังหวัดทั่วประเทศถวายพระเกียรติยศเต็มที่ตามที่ทรงดำรงอยู่ทุกประการ


ด้วยเหตุนี้แหล่ะ จึงได้ไปเที่ยวชม และถ่ายภาพพระเมรุ มาให้ชมกันครับ

พระเมรุ ๑

พระเมรุ ๒

พระเมรุ ๓

มีรถประดับไฟแปลกๆมาจอด ผู้คนให้ความสนใจถ่ายรูปจำนวนมาก
ภาพนี้ใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำ ทำให้มองเห็นผู้คนน้อยหน่อย

ใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำ แต่คุณผู้หญิงชุดดำเล่นไม่ขยับไปไหน จึงถ่ายติดเธอ

พระเมรุ

ภาพทั้งหมด ใช้ขาตั้งกล้อง ISO100 ถ่ายด้วยสปีดชัตเตอร์ตามที่วัดแสงได้

มีคนอื่นใช้ฟิลเตอร์ ND ของ Lee ติดที่หน้าเลนส์แล้วฟิลเตอร์รุ่นนี้จะยึดแผ่นฟิลเตอร์ได้ไม่ค่อยแน่น ทั้งที่มีราคาสูงมาก แผ่นละประมาณ 5,000 บาท เห็นเขาก็เสียบกับกล้องและไม่มีใครไปโดน ลมก็ไม่ได้แรงอะไร ฟิลเตอร์เลื่อนหล่นพื้น ดัง"เพ้งงง" แตกยับเลยครับ

ถ้าใช้ฟิลเตอร์แผ่นแบบ ND ลองตรวจเช็คความแน่นของแผ่นฟิลเตอร์ด้วยนะครับ เสียดายเวลามันหล่นแตก ถ้ามันไม่แน่น ลองใช้ กระดาษกาว หรือเทปกาว ติดที่ด้านข้างของฟิลเตอร์ เพื่อเสริมให้มันหนาขึ้น อย่าติดแบบแผ่นหนากินพื้นที่เข้ามาในเลนส์เวลาถ่ายภาพ แต่วิธีนี้แกะออกมาก็จะมีกาวติดฟิลเตอร์บ้างทำให้ขายแล้วอาจจะเสียราคาบ้างนะครับ



ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพครับ สวัสดี GoodLight ^_^

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

การใช้ฟิลเตอร์เพื่อเพิ่มเวลาเปิดชัดเตอร์


คุณสามารถเพิ่มเวลาในเปิดสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น(long exposure)ได้ ด้วยการใช้เทคนิค ควบคุมรูรับแสงให้แคบ(F.Stop) และการใช้ฟิลเตอร์ที่ลดแสงลง เรียกว่า ND filter(neutral Density filter)

การปรับรูรับแสงให้แคบ ก็จะทำให้ได้ความชัดลึกเพิ่มขึ้น แล้วถ้าปรับถึงที่สุดแล้ว ยังได้สปีดชัตเตอร์ที่สูงอยู่ ก็ทำอะไรอีกไม่ได้

ส่วนการใช้ฟิลเตอร์ชนิด ND นี้ จะทำให้ภาพมืดลง ทำให้ต้องเพิ่มสปีดชัตเตอร์ขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความชัดลึก ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบเต็มแผ่นระดับความเข้มเท่ากันหมด, แบบแบ่งครึ่งระดับความเข้มตัดกันเลย, แบบแบ่งครึ่งแต่ระดับความเข้มค่อยๆเพิ่มไปแบบนุ่มนวล, และแบบกลับด้านก็มี คือกลางฟิลเตอร์ไล่จากเข้มมากไปหาเข้มน้อย และมีให้เลือก

การใช้ฟิลเตอร์แบบนี้ ก็เพื่อหวังผลให้ได้การเปิดสปีดชัตเตอร์ที่นานขึ้น ส่งผลต่อภาพถ่ายให้เกิดความเบลอ(blur) มากขึ้น หรือเกิดการเคลื่อนไหวของภาพมากขึ้น

น้ำตกกระทิง 

การใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ long exposure ใช้ได้ผลดีกับภาพประเภท น้ำตก, น้ำทะเล, เมฆเคลื่อนไหว

จากภาพน้ำตกตัวอย่างนี้ มีแสงแดดมาก ทำให้ได้สปีดชัตเตอร์ค่อนข้างเร็ว ทำให้สายน้ำไม่เป็นสายอ่อนนุ่มสวยงาม

ภาพนี้จึงใช้ฟิลเตอร์ ND แบบเต็มแผ่น ใส่ปิดหน้าเลนส์ แล้วจึงเปิดความเร็วชัตเตอร์นานๆ

ทำให้ได้ภาพถ่ายสายน้ำที่อ่อนนุ่ม สวยงามกว่าไม่ได้ใช้ ส่วนเทคนิคการถ่ายภาพ วัดแสง ฯลฯ ก็ใช้เหมือนปกตินะครับ แค่ใส่ ฟิลเตอร์เข้าไปที่หน้าเลนส์ และดูค่าสปีดชัตเตอร์ที่กล้องวัดได้ ถ้าเปิด 30 วินาที กล้องหลายรุ่นมักจะไม่แสดงผลที่เกิน 30 วินาที

จำเป็นต้องใช้
เทคนิคการคำนวณการเปิดค่าสปีดชัตเตอร์ และเปิดตามที่ได้คำนวณไว้

ส่วนภาพถ่ายที่ต้องเปิดรับแสงนานๆอย่างนี้ จำเป็นต้องมีขาตั้งกล้อง หรือ ถุงทราย สำหรับวางกล้องให้มั่นคง ไม่สั่นไหว

น้ำตกเจ็ดคตเหนือ

ภาพถ่ายนี้ก็เทคนิคเดียวกันครับ แต่ภาพนี้รอให้แสงแดด เข้าเงาก่อน ทำให้แสงอ่อนเท่าๆกัน










ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ  เมื่อมาเยี่ยมชมแล้วก็โปรดแสดงความคิดเห็น.. Good Light.