ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หอยทาก



หอยทากจะพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน เพื่อออกหากินสะสมอาหารจำนวนมากและแพร่ขยายพันธุ์ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะอาศัยที่ร่มหลบแสงแดด หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วเปอร์เซ็นรอดน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5 ปี
หอยที่การเคลื่อนที่ช้ามาก ถึงขนาดมีหอยทากแถวๆ ทะเลแดงเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 600 เมตร ต่อ 26 ปี แต่หอยทากสามารถไม่กินอะไรเลยได้ 1 ปี
หอยทาก พบมีมากในไทยถึงประมาณ 600 ชนิด ทั่วโลก 50000 ชนิด !!!!
หอยทาก มีสองเพศในตัวเดียวกันนะครับ แต่ มันไม่สามารถผสมพันธ์ตัวเองได้ ต้องอาศัยหอยทากตัวอื่นอยู่ดีจ้า









บางชนิดนิยมนำมารับประทาน มีราคาสูงมากด้วย 
และนำมาเมือกของหอยทากมาใช้ในวงการเครื่องสำอางค์ด้วย อ้างว่าสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และอื่นๆอีกมาก แต่ชาวเกษตรไม่ชอบ ต้องหาทางกำจัดมันเสมอ เพราะหอยทากจะกินใบของพืชผล, เป็นพาหะต่อพยาธิ

หอยทากจะกินอาหารแทบทุกชนิด เช่น ใบไม้ ต้นไม้ ซากใบไม้  ข้าว เศษอาหาร รวมถึงเชื้อราที่อยู่ตามซากใบไม้ทับถม ฯลฯ

หอยทากเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสงสารเหมือนกันนะครับ คนเห็นมันกินใบไม้ก็ฆ่ามันทิ้งอย่างเดียว ประโยชน์ต่อระบบนิเวศคือมันช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน

ภาพทั้งหมดถ่ายด้วยเลนส์มาโคร ยิงแฟลช ^_^

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

my macro on 2/4/2012

Today i take this picture.

spider

I think it interesting. 
This picture take in manual mode and flash ETTL under -1 2/3 STOP.

Have funny, GoodLight.

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายเห็ด


เทคนิคการถ่ายภาพเห็ดแชมเปญ




เห็ดถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศไม่น้อย เพราะเป็นตัวการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้เป็นปุ๋ยคืนสู่ดิน นอกจากนี้เห็ดยังเป็นความบันเทิงเล็กๆของคนเดินป่าอีกด้วย เพราะใครที่เข้าไปเที่ยวป่าโดยเฉพาะในหน้าฝน หากใช้สายตาสังเกตสอดส่องอาจมีโอกาสพบเห็นดอกเห็ดป่าขึ้นอวดโฉม อยู่ตามพื้นดิน ท่อนไม้ ขอนไม้ และที่ชื้นแฉะ
             
เห็ดป่ามีทั้งที่ ส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นเหม็น และไม่ส่งกลิ่น ขณะที่รูปร่างของเห็ดป่านั้นก็มีหลากหลาย บางชนิดดูเหมือนเห็ดทั่วไป บางชนิดมีสีสันสวยงามแปลกตา บางชนิดดูไม่เหมือนเห็ด บางชนิดสีขาวจืดชืด บางชนิดสีคล้ำเขรอะไม่น่ามอง
              
เห็ดป่าหลายชนิด สำหรับผมถือเป็นงานศิลปะประดับป่าชั้นยอด อย่างจำพวก เห็ดขอนที่ขึ้นเรียงรายไล่ดอกจากเล็กไปหาใหญ่ เห็ดถ้วย-เห็ดแชมเปญ ที่แม้จะเล็กกระจิดริดแต่ให้สีส้มสดของมันช่างสะดุดตานัก เห็ดร่างแหที่สยายร่างเหมือนแหประดับพื้นดิน หรือจำพวกเห็ดที่ดูไม่เหมือนเห็ด แต่ดูเป็นรูปร่างอื่น อย่าง ตะกร้อ ปะการัง ไอศกรีม ดอกไม้ แท่งเทียน เป็นต้น
              
อย่างไรก็ตามบรรดาเห็ดป่าที่ให้สีสันสวยงามเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นเห็ดมีพิษ ประเภทสวยแต่รูปจูบไม่ได้ เพราะถ้าใครขืนจูบจะโดนพิษของเห็ดทำอันตรายเข้าได้ หรือไม่ควรแม้แต่ที่จะไปจับ สัมผัส แตะต้องมันด้วยประการทั้งปวง ควรปล่อยให้มันอยู่ของมันไปตามธรรมชาติเป็นดีที่สุด
              
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเห็ดสีขาวจะกินได้เสมอไป เพราะเห็ดสีขาวบางชนิดมีพิษกินแล้วอาจตายได้ ในขณะที่เห็ดมีสีบางชนิดก็กินได้แถมอร่อยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นวิธีการดูเห็ดว่ามีพิษหรือไม่จึงต้องรอบคอบระมัดระวังเป็นพิเศษ
              
เรียกได้ว่าสิ่งเล็กที่เรียกว่า“เห็ด”นี่คล้ายกับคนไม่น้อยเลย คือเดาได้ยากเต็มที บางคนดูดีสวยงามแต่แฝงไว้ด้วยความร้ายเหลือ ขณะที่บางคนดูเรียบง่ายใสซื่อแต่ก็แฝงไว้ด้วยความร้ายกาจเช่นกัน



การถ่ายภาพเห็ดแชมเปญ 


เห็ดชนิดนี้จะพบตามป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีความชื้นสูง ต้องกดดูดีๆ มีขนาดเล็ก เกาะตามขอนไม้







ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ Goodlight ^_^

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

macro แมงมุมหนาม



ขณะที่ผมไปถ่ายภาพวันนึง ผมก็พบ แมงมุมสีสรรสวยตัวนี้เข้าครับ สีมันสวยจนน่ากลัว จากสารคดีเรื่องงูต่างๆ พบว่ายิ่งงูสีสวยมักจะยิ่งมีพิษร้ายแรง ตัวนี้จึงทำผมกลัวหน่อยๆ แต่ก็แอบย่องไปถ่ายภาพมันจนได้


แมงมุมหนาม 1
มันกางใยเป็นบริเวณกว้างมาก สูงตั้งแต่ประมาณเข่าผมจนถึงประมาณผมยืนชูแขนแล้วสูงเท่าศอก ส่วนความกว้างก็ลำตัวผมบวกกับกางแขนสุด 1 แขน

แมงมุมแต่ละชนิด มีวิธีล่าเหยื่อไม่เหมือนกัน แมงมุมมีอยู่มากมาย หลายชนิดมากบนโลก

และการถ่ายภาพ Macro แมงมุม ก็ถือว่าไม่ยากนัก หาได้ง่าย และมันมักจะอยู่นิ่งๆ เมื่อเจอแล้วมันก็ไม่ค่อยหนี เราสามารถตั้งขาตั้ง จัดตำแหน่งได้เป็นเวลานาน โดยมันไม่หนี นอกจากพวกแมงมุมกระโดด ซึ่งแมงมุมพันธ์นั้น ไม่กางใยในการล่าเหยื่อ ใช้วิธีกระโดดเข้าใส่เลย และกระโดดได้ไว และไกลด้วย เมื่อเราเข้าใกล้แบบไม่ระวัง มันก็กระโดดหนีไปแล้วครับ หามันอีกครั้งก็ยากซะด้วย

ส่วนตัวนี้จะว่าง่าย ก็ไม่ง่ายนะครับ ด้วยใยที่มันชักกว้างมาก ลมก็แรง ตอนที่ถ่าย ลมทำให้ใยมันสะบัด ตัวมันไหวมาก จับโฟกัสยากมาก

แมงมุมตัวนี้มาค้นเจอทีหลังว่าเรียกว่าแมงมุมหนาม แมงมุมหนามไม่มีอันตรายต่อคน (แต่สีสรรมันทำให้ผมหยองๆอยู่ดี)
แมงมุมหนามมีประมาณ 70 สายพันธ์พบได้ทั่วโลก

คาดว่าสีของมันคงล่อให้แมลงคิดว่าเป็นดอกไม้มั้งครับ ขณะที่ผมก้มพยายามถ่ายมันอยู่ ก็มีผีเสื้อบินมาติดใย และมันก็ตรงดิ่งไปจัดการทันที
ผีเสื้อเพิ่งติดใย

มันดิ่งเข้าไปอย่างรวดเร็ว และทำการม้วนผีเสื้อไว้กับใยของมัน
เริ่มม้วน
แล้วก็ม้วนจนเป็นก้อนแน่น
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ
ยังคงม้วนต่อไป
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 2
ที่ถ่ายนี่เกิดขึ้นเร็วมากนะครับ เพื่อนผมที่ถ่ายด้วยกัน ถ่ายไม่ได้เลย เพราะลมก็พัด แมงมุมก็ขยับมาจัดการเหยื่อ
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 3
จนเป็นก้อนประมาณนี้

แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 4
เมื่อเป็นก้อน มันก็ทิ้งไว้ก่อนยังไม่กินตอนนี้ครับ แต่ไม่ทันไร แมลงอีกตัวก็มาติดใยมันอีก มันก็ตรงดิ่งไปจัดการอีกครั้ง แต่เสียใจด้วย ลมมาแรง ถ่ายไม่ได้เลยครับ ^_^

มันจัดการม้วนตัวที่สองแล้วก็เอามารวมเข้ากับตัวที่ 1 เลยครับ เป็นก้อนเดียวกัน 

ธรรมชาติที่ต้องล่าเหยื่อดูโหดร้าย แต่นี่คือธรรมชาติ มนุษย์เราก็โหดร้ายเช่นกัน ทั้งฆ่าหมู, ฆ่าไก่, จับแมลงมาทอด, ฆ่าทุกอย่างเพื่อมากินหรือบางครั้งก็แค่สนุก จนบางชนิดสูญพันธ์ หรือใกล้สูญพันธ์เต็มที 


วันนี้ก็ลาไปด้วยภาพ Macro แมงมุมหนาม ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพ Good Light.