ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว2

จาก การถ่ายภาพเส้นแสงดาว ซึ่งผมได้เคยโพสไปแล้วนั้น

วันนี้จะแสดงภาพที่ถ่ายโดยหันมุมกล้องไปทางทิศเหนือ ให้เห็นดาวเหนือครับ

north star

ที่เห็นตรงกลางของเส้นกลมๆนั้นคือดาวเหนือครับ

ตำแหน่งสูงต่ำของดาวเหนือจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ละติจูด (Latitude) ในขณะนั้น ในกรุงเทพฯ ก็ประมาณ 13 องศา มันจึงอยู่สูงขึ้นไป 13 องศาครับ ถ้าถ่ายที่ขั้วโลกเหนือ ดาวเหนือจะอยู่บนศีรษะพอดีเลยครับ




ภาพนี้เปิดถ่ายภาพประมาณ 1 ชม.ครับ

วิธีใช้โปรแกรมStartrails

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ GoodLight ^_^ 

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพเส้นแสงดาว Startrail photography

ปกติผมก็ทำงานเวลากลางวัน เลิกงานมาผมจึงมักจะมองหาสถานที่ที่จะถ่ายภาพกลางคืน แล้วก็พบว่าภาพกลางคืนก็สวยงามไปอีกแบบไม่แพ้ภาพตอนกลางวันเลย  ผมมักจะมองไปบนท้องฟ้าตอนดึก เพื่อดูว่าท้องฟ้าเป็นอย่างไร ฝนจะตกหรือไม่ มีดาวหรือป่าว และเรื่องวันนี้ก็จะพูดเรื่องการถ่ายภาพเส้นแสงดาวหรือ (Startrail)

ช่วงเวลา
ช่วงที่เหมาะสมคือหน้าหนาวครับ ประมาณเดือนพฤศจิกายน จนถึง กุมภาพันธ์ ท้องฟ้าจะใสเมฆน้อย ส่วนหน้าร้อนช่วงก่อนสงกรานต์ก็พอถ่ายได้ครับ แต่จะมีเมฆผ่านมาบ้างทำให้ไม่สะดวกในการถ่ายภาพแสงดาวนัก ส่วนหน้าฝนแทบจะไม่มีโอกาสเลย เพราะมีเมฆตลอดเวลา ฟ้าหลัว


วางแผน
คืนที่เหมาะกับการถ่ายภาพเส้นแสงดาวคือเดือนข้างแรม ประมาณ แรม10ค่ำ -15ค่ำ และขึ้น 1ค่ำ - 5ค่ำ ท้องฟ้าจะมืดเห็นดาวชัดเจน ส่วนข้างขึ้น 15ค่ำ ไม่เหมาะจะเห็นดาวน้อยแต่หากถ่ายก็คงเป็นเส้นแสงจันทร์แทนเส้นแสงดาว

อุปกรณ์
-กล้อง ต้องเป็นกล้องที่สามารถตั้งเวลาถ่ายภาพได้ และเปิดหน้ากล้องนานๆได้ นานกว่า30วินาที
-เลนส์ ควรเป็นเลนส์ที่ปรับโฟกัสเองได้ เนื่องจากความมืดทำให้กล้องหาโฟกัสไม่ได้
-ไฟฉาย ควรพกติดไว้ ใช้ส่องหาอุปกรณ์ มองพื้นต่างๆว่าปลอดภัยมีสัตว์ต่างๆหรือไม่ ดูการตั้งค่ากล้อง และใช้ส่องที่วัตถุเพื่อช่วยหาโฟกัส
-แบตเตอรี่ ควรชาร์ตมาให้ไฟเต็ม หรือแน่ใจว่าสามารถถ่ายได้เวลานานพอ
-ขาตั้งกล้อง สำคัญมาก ควรยึดล็อคให้แน่นหนา ขาตั้งกล้องราคาถูกจะมีตัวยึดหมุนหลายตัว ตรวจสอบว่ามั่นคงดี ส่วนขาตั้งกล้องราคาสูงมักจะมีตัวปรับยึดไม่กี่จุดแต่สามารถปรับได้หลายระดับ เก็บสายคล้องกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ และสายสะพายของขาตั้งให้เรียบร้อย เนื่องจากลมอาจจะทำให้กล้องสั่นไหวได้
-ถุงพลาสติก หรือผ้า กันน้ำค้างในกรณีที่น้ำค้างมาก อากาศหนาวเย็น
-เข็มทิศ และแผนที่ดูดาวช่วยในการหาตำแหน่งดาว เพราะการหันกล้องคนละทิศจะได้ภาพไม่เหมือนกัน


การถ่ายภาพเส้นแสงดาว หากเป็นแต่ก่อนใช้กล้องฟิลม์ก็คงต้องเปิดนานๆยาวๆ แต่ก็มีข้อเสียที่แสงจากเมือง แสงอื่นๆ ทำให้ภาพ over ได้ สมัยนี้ใช้กล้องดิจิตอลการเปิดหน้ากล้องนานๆหลายชม.ก็ไม่เหมาะเพราะจะเกิด noise และ hot spot ในภาพได้ แต่ก็มีซอฟต์แวร์ช่วยทำให้ไม่ต้องเปิดรับแสงทีเดียวนานๆ แต่เป็นเปิดช่วงสั้นๆ แล้วก็ปิดพักแล้วก็ถ่ายต่อ และรวมภาพทั้งหมดด้วยซอฟต์แวร์
ที่ผมรู้จักและใช้งานได้ง่าย ก็มี 
startrails ตัวนี้ใช้ง่ายแค่โหลดภาพทั้งหมดมา และ รอผล

วิธีใช้งานโปรแกรมStartrails

ภาพตัวอย่างในวันนี้ ผมใช้ทั้งหมด 46 ภาพ เปิดรับแสงภาพละ 31 วินาที และเว้น 30 วินาที เวลาทั้งหมดจึงประมาณ 46 นาที



ภาพแรกผมถ่ายแทงค์น้ำนี้ เป็นคืนที่ท้องฟ้าค่อนข้างสดใจ เห็นดาวมาก ผมถ่ายที่แทงค์น้ำ และใช้ไฟฉายส่องที่แทงค์น้ำให้มีแสงแดง ปนสีอื่นเล็กน้อย

startrail 1


ภาพที่สอง ผมถ่ายต่อเนื่องกัน โดยใช้ไฟฉาย ส่องไปที่แทงค์น้ำให้มีสีเขียวบ้าง


startrail 2
จากนั้นผมก็เปิดรับแสง ถ่ายไปเรื่อยๆ ทั้งหมด 46 ภาพ 
จนสุดท้ายได้ภาพนี้ 



ภาพนี้หันไปทางทิศใต้ จึงได้ภาพโค้งๆ เช่นนี้นะครับ ถ้าหันไปทางเหนือ เส้นแสงดาวที่เห็นจะ จะเป็นวงกลม วนรอบดาวเหนือ เนื่องจากแกนโลกหมุนตรงกับดาวเหนือพอดี จึงมองเหมือนดาวเหนือไม่ได้ขยับเลย ความจริงขยับเล็กน้อย แต่ดาวอื่นหมุนรอบดาวเหนือ

แต่หากถ่ายหันไปทางทิศตะวันออก และตะวันตก ก็จะต่างกัน แต่จะคล้ายกันคือเป็น เส้นแนวตั้ง เฉียงเล็กน้อย ตามตำแหน่ง ที่เราถ่าย และฤดูกาลด้วยครับ


ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ แสดงความคิดเห็นได้นะครับ.



วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

การใช้ฟิลเตอร์เพื่อเพิ่มเวลาเปิดชัดเตอร์


คุณสามารถเพิ่มเวลาในเปิดสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น(long exposure)ได้ ด้วยการใช้เทคนิค ควบคุมรูรับแสงให้แคบ(F.Stop) และการใช้ฟิลเตอร์ที่ลดแสงลง เรียกว่า ND filter(neutral Density filter)

การปรับรูรับแสงให้แคบ ก็จะทำให้ได้ความชัดลึกเพิ่มขึ้น แล้วถ้าปรับถึงที่สุดแล้ว ยังได้สปีดชัตเตอร์ที่สูงอยู่ ก็ทำอะไรอีกไม่ได้

ส่วนการใช้ฟิลเตอร์ชนิด ND นี้ จะทำให้ภาพมืดลง ทำให้ต้องเพิ่มสปีดชัตเตอร์ขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความชัดลึก ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบเต็มแผ่นระดับความเข้มเท่ากันหมด, แบบแบ่งครึ่งระดับความเข้มตัดกันเลย, แบบแบ่งครึ่งแต่ระดับความเข้มค่อยๆเพิ่มไปแบบนุ่มนวล, และแบบกลับด้านก็มี คือกลางฟิลเตอร์ไล่จากเข้มมากไปหาเข้มน้อย และมีให้เลือก

การใช้ฟิลเตอร์แบบนี้ ก็เพื่อหวังผลให้ได้การเปิดสปีดชัตเตอร์ที่นานขึ้น ส่งผลต่อภาพถ่ายให้เกิดความเบลอ(blur) มากขึ้น หรือเกิดการเคลื่อนไหวของภาพมากขึ้น

น้ำตกกระทิง 

การใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ long exposure ใช้ได้ผลดีกับภาพประเภท น้ำตก, น้ำทะเล, เมฆเคลื่อนไหว

จากภาพน้ำตกตัวอย่างนี้ มีแสงแดดมาก ทำให้ได้สปีดชัตเตอร์ค่อนข้างเร็ว ทำให้สายน้ำไม่เป็นสายอ่อนนุ่มสวยงาม

ภาพนี้จึงใช้ฟิลเตอร์ ND แบบเต็มแผ่น ใส่ปิดหน้าเลนส์ แล้วจึงเปิดความเร็วชัตเตอร์นานๆ

ทำให้ได้ภาพถ่ายสายน้ำที่อ่อนนุ่ม สวยงามกว่าไม่ได้ใช้ ส่วนเทคนิคการถ่ายภาพ วัดแสง ฯลฯ ก็ใช้เหมือนปกตินะครับ แค่ใส่ ฟิลเตอร์เข้าไปที่หน้าเลนส์ และดูค่าสปีดชัตเตอร์ที่กล้องวัดได้ ถ้าเปิด 30 วินาที กล้องหลายรุ่นมักจะไม่แสดงผลที่เกิน 30 วินาที

จำเป็นต้องใช้
เทคนิคการคำนวณการเปิดค่าสปีดชัตเตอร์ และเปิดตามที่ได้คำนวณไว้

ส่วนภาพถ่ายที่ต้องเปิดรับแสงนานๆอย่างนี้ จำเป็นต้องมีขาตั้งกล้อง หรือ ถุงทราย สำหรับวางกล้องให้มั่นคง ไม่สั่นไหว

น้ำตกเจ็ดคตเหนือ

ภาพถ่ายนี้ก็เทคนิคเดียวกันครับ แต่ภาพนี้รอให้แสงแดด เข้าเงาก่อน ทำให้แสงอ่อนเท่าๆกัน










ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ  เมื่อมาเยี่ยมชมแล้วก็โปรดแสดงความคิดเห็น.. Good Light.

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

macro แมงมุมหนาม



ขณะที่ผมไปถ่ายภาพวันนึง ผมก็พบ แมงมุมสีสรรสวยตัวนี้เข้าครับ สีมันสวยจนน่ากลัว จากสารคดีเรื่องงูต่างๆ พบว่ายิ่งงูสีสวยมักจะยิ่งมีพิษร้ายแรง ตัวนี้จึงทำผมกลัวหน่อยๆ แต่ก็แอบย่องไปถ่ายภาพมันจนได้


แมงมุมหนาม 1
มันกางใยเป็นบริเวณกว้างมาก สูงตั้งแต่ประมาณเข่าผมจนถึงประมาณผมยืนชูแขนแล้วสูงเท่าศอก ส่วนความกว้างก็ลำตัวผมบวกกับกางแขนสุด 1 แขน

แมงมุมแต่ละชนิด มีวิธีล่าเหยื่อไม่เหมือนกัน แมงมุมมีอยู่มากมาย หลายชนิดมากบนโลก

และการถ่ายภาพ Macro แมงมุม ก็ถือว่าไม่ยากนัก หาได้ง่าย และมันมักจะอยู่นิ่งๆ เมื่อเจอแล้วมันก็ไม่ค่อยหนี เราสามารถตั้งขาตั้ง จัดตำแหน่งได้เป็นเวลานาน โดยมันไม่หนี นอกจากพวกแมงมุมกระโดด ซึ่งแมงมุมพันธ์นั้น ไม่กางใยในการล่าเหยื่อ ใช้วิธีกระโดดเข้าใส่เลย และกระโดดได้ไว และไกลด้วย เมื่อเราเข้าใกล้แบบไม่ระวัง มันก็กระโดดหนีไปแล้วครับ หามันอีกครั้งก็ยากซะด้วย

ส่วนตัวนี้จะว่าง่าย ก็ไม่ง่ายนะครับ ด้วยใยที่มันชักกว้างมาก ลมก็แรง ตอนที่ถ่าย ลมทำให้ใยมันสะบัด ตัวมันไหวมาก จับโฟกัสยากมาก

แมงมุมตัวนี้มาค้นเจอทีหลังว่าเรียกว่าแมงมุมหนาม แมงมุมหนามไม่มีอันตรายต่อคน (แต่สีสรรมันทำให้ผมหยองๆอยู่ดี)
แมงมุมหนามมีประมาณ 70 สายพันธ์พบได้ทั่วโลก

คาดว่าสีของมันคงล่อให้แมลงคิดว่าเป็นดอกไม้มั้งครับ ขณะที่ผมก้มพยายามถ่ายมันอยู่ ก็มีผีเสื้อบินมาติดใย และมันก็ตรงดิ่งไปจัดการทันที
ผีเสื้อเพิ่งติดใย

มันดิ่งเข้าไปอย่างรวดเร็ว และทำการม้วนผีเสื้อไว้กับใยของมัน
เริ่มม้วน
แล้วก็ม้วนจนเป็นก้อนแน่น
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ
ยังคงม้วนต่อไป
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 2
ที่ถ่ายนี่เกิดขึ้นเร็วมากนะครับ เพื่อนผมที่ถ่ายด้วยกัน ถ่ายไม่ได้เลย เพราะลมก็พัด แมงมุมก็ขยับมาจัดการเหยื่อ
แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 3
จนเป็นก้อนประมาณนี้

แมงมุมหนามจัดการเหยื่อ 4
เมื่อเป็นก้อน มันก็ทิ้งไว้ก่อนยังไม่กินตอนนี้ครับ แต่ไม่ทันไร แมลงอีกตัวก็มาติดใยมันอีก มันก็ตรงดิ่งไปจัดการอีกครั้ง แต่เสียใจด้วย ลมมาแรง ถ่ายไม่ได้เลยครับ ^_^

มันจัดการม้วนตัวที่สองแล้วก็เอามารวมเข้ากับตัวที่ 1 เลยครับ เป็นก้อนเดียวกัน 

ธรรมชาติที่ต้องล่าเหยื่อดูโหดร้าย แต่นี่คือธรรมชาติ มนุษย์เราก็โหดร้ายเช่นกัน ทั้งฆ่าหมู, ฆ่าไก่, จับแมลงมาทอด, ฆ่าทุกอย่างเพื่อมากินหรือบางครั้งก็แค่สนุก จนบางชนิดสูญพันธ์ หรือใกล้สูญพันธ์เต็มที 


วันนี้ก็ลาไปด้วยภาพ Macro แมงมุมหนาม ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพ Good Light. 





วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายหน้าเบี้ยว 2

เฉลยภาพถ่ายหน้าเบี้ยวๆ

จาก
ภาพถ่ายหน้าเบี้ยวซึ่งได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับท่านที่ไม่รู้ ก็คงงง ว่าถ่ายยังไง

วันนี้จะมาเฉลยครับ
วิธีคือถ่ายด้วยความเร็วซัตเตอร์สูงหน่อยนึง 1/125 ขึ้นไป โดยประมาณ ในภาพนี้มืดนิดหน่อย จึงใช้แฟลชจากตัวกล้องช่วยด้วย

และทำการ สะบัดหน้าตัวเอง อย่างเร็วๆจังหวะนั้นก็กดชัตเตอร์ถ่ายภาพทันทีครับ ก็จะได้หน้าที่กำลังเบี้ยวๆ แปลกๆ อย่างนี้
ภาพถ่ายหน้าเบี้ยว  

จะเห็นว่าช่วงปาก กับฟัน ห่างกันมาก ซึ่งไม่สามารถทำได้ในสถานการณ์ปกติ หลายคนอาจจะคิดว่าใช้ photoshop ซึ่งไม่ใช่นะครับ













ภาพถ่ายประเภทนี้ก็จะได้ภาพหน้าบูดเบี้ยว บางครั้งก็คล้ายถูกชกบางครั้งก็ดูแปลกๆ ขึ้นอยู่กับจังหวะ

คำเตือน การถ่ายภาพแบบนี้มากๆอาจจะปวดหัวนิดหน่อยได้ จากการสะบัดศีรษะเยอะๆ ^_^


ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพนะครับ  GoodLight.


วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายหน้าเบี้ยว

วันนี้ขอโพสภาพถ่ายแปลกๆ 1 ภาพครับ


แล้วเดี๋ยวมาเฉลยว่าถ่ายอย่างไร   ลองเดากันดูครับ


เทคนิคการถ่ายภาพแปลกๆ


^_^

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวัดแสงธรรมดา - กับการใช้แฟลช

สวัสดีครับ วันนี้จะขอพูดถึงความแตกต่างของ การวัดแสงแบบธรรมดา กับ การใช้แฟลชครับ

บางท่านอาจจะเคยอ่านการวัดแสงมาบ้างแล้ว มีพูดถึงกันเยอะแยะ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง : ช่างมัน

แต่เมื่อท่านจะใช้แสงแฟลช ก็จะงง ว่าอะไรกัน ไม่เห็นเข้าใจ ผมพบปัญหานี้เยอะครับ และเป็นเรื่องที่รายละเอียดเยอะ  แต่จะขออธิบายง่ายๆให้เข้าใจกันนะครับ
การวัดแสงเมื่อถ่าย เวลาไม่ใช้แฟลช ก็คือ ดูค่าแสงณเวลานั้น บริเวณที่เราต้องการถ่ายภาพก็จะได้ ค่ามาสองค่า คือรูรับแสง(aperture value) กับ ความเร็วชัตเตอร์(speed shutter) ในกรณีที่ท่านเลือกโหมด M (Manual) เราก็เป็นคนกำหนดสองค่านั้นแล้ว ฉะนั้นกล้องจะบอกแค่ว่า มันพอดี หรือมืด หรือสว่างไป(under or over exposure), เมื่อท่านเลือกโหมต AV(canon) หรือ A(nikon) เราก็ควบคุม รูรับแสงอย่างเดียว  กล้องจะวัดแล้วปรับ ความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถปรับชดเชยแสงได้,
เมื่อท่านเลือกโหมด TV(canon) หรือ S(nikon) ท่านก็จะควบคุมความเร็วชัตเตอร์ แล้วกล้องจะปรับรูรับแสงให้อัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถปรับชดเชยแสงได้  แค่นี้เองครับ หลักง่ายๆ

ต่อมาคือการใช้แฟลช

การใช้แฟลชพูดได้เลยว่าไม่เกี่ยวกับการวัดแสงโดยตรงนะครับ วัดแสงมันก็คือค่าแสงที่เข้ากล้องคือแสงธรรมชาติ หรือแสงต่อเนื่องในขณะนั้นนะครับ แต่แสงแฟลชต่างออกไปคนละเรื่องเลยครับ
กล่าวคือ แสงแฟลชจะมีสองระบบหลักๆ
1. TTL มีหลายแบบ ATTL, ETTL ฯลฯ มันคือการที่แสงแฟลชจะยิงไปที่วัตถุ แล้วเมื่อแสงแฟลชพอดีมันจะตัดไฟแฟลชทันที ซึ่งชื่อต่างๆ คือการที่เขาคิดวิธีให้การยิงแสงแฟลชแม่นที่สุด แต่ก็เป็นแสงแฟลชผ่านเข้ามาในกล้อง และตัดไฟแฟลชทิ้งเมื่อแสงพอดี เช่นกัน และเมื่อมีหลายยี่ห้อของกล้องและแฟลช จึงมีหลายชื่อ ต่างกันไป

2.แฟลชแบบปรับกำลังแฟลชเอง คือเอาเลือกปรับเองว่าจะแรง-อ่อนแค่ไหน ตัวแฟลชก็จะยิงเท่าที่เราตั้งตลอดเวลา ซึ่งต้องผ่านการคำนวณ ระยะ, ISO, ฯลฯ หรือลองดูแล้วก็เช็ค histogram เอาก็ได้ครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็นิยมแบบนี้มากขึ้น คือมั่วๆไปก่อน แล้วดูจาก LCD ในกล้อง เมื่อแสงพอดีแล้วก็ตั้งค่านี้ สะดวกรวดเร็วดี แต่ต้องเสียเวลากับการปรับแฟลชอยู่พักนึง

ฉะนั้นเมื่อเราดันเลือกโหมด AVหรือ S (หรืออื่นๆตามแต่ละยี่ห้อ) ถ้าถ่ายตอนกลางวัน มันก็สว่างดี ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วพอภาพจะคมชัดได้  แต่ถ้าเราถ่ายในที่มืดๆล่ะครับ  - แน่นอนว่า มันก็จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ เพราะมันวัดจากแสงธรรมชาติ (แสงแฟลชจะยิงมาแค่แว๊บเดียว และไม่ได้ยิงตอนเราวัดแสง)เมื่อถ่ายภาพ แสงที่ได้อาจจะพอดี สว่างเหมือนกลางวัน แสงแฟลชก็ยิงไปพอดี แต่ภาพไม่ชัด เพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำไงล่ะครับ

เพื่อเสริมความเข้าใจมากขึ้น ถ้าเราถ่ายภาพคนที่อยู่ในที่ร่ม เช่นใต้ตึก แต่ข้างหลังเป็นแดดจ้านอกอาคาร อย่างนี้ หมายความว่าแสงที่ฉากหลัง จะสว่างมาก แต่แสงคนที่อยู่ใต้ตึกจะมืดกว่ามาก ถ้าเราถ่ายโดยวัดแสงที่ฉากหลัง ฉากหลังก็จะสวยงามพอดี แต่หน้าคนจะมืด
แต่ถ้าเราถ่ายโดยวัดแสงที่หน้าคน หน้าคนจะสว่างถูกต้อง แต่ฉากหลังก็จะสว่างขาวโพลน แต่ถ้าท่านต้องการให้แสงพอดี ทั้งข้างหน้า และข้างหลัง ทำอย่างไรล่ะครับ :)

ก็ต้องวัดแสงที่ฉากหลัง แล้วจำค่านั้น หรือล็อคค่าไว้(อ่านวิธีในคู่มือกล้องของท่าน) จากนั้นใช้แฟลชยิงที่หน้าคนให้ได้แฟลชพอดี อย่างนี้ก็จะได้แสงที่พอดีทั้งฉากหน้า และฉากหลัง

แต่ถ้าต้องการ ฉากหลังมืดกว่าตัวแบบ ก็ต้องวัดที่ฉากหลังอีกเช่นกัน แล้วชดเชยแสงให้ under (-1,-2,-3,ฯ) แต่แสงแฟลชยิงพอดี ฉากหลังก็จะมืดกว่าตัวคนแล้วครับ

แต่ถ้าต้องการฉากหลังสว่างกว่า ก็ดูหน้า ฉากหลังกับตัวคนอันไหนสว่างกว่ากัน ถ้าฉากหลังสว่างกว่าอยู่แล้ว ก็แทบไม่ต้องทำไร ใช้วัดที่หน้าคนเลยก็ได้ หรือวัดแสงที่ฉากหลังแล้วปรับ over(+1,+2,+3,ฯ) ส่วนแสงแฟลชปรับให้พอดี เท่านั้นเองครับ


ปัญหาต่อมาคือ ทำไมแฟลชมีปรับชดเชยแสงด้วย จำเรื่อง TTL ได้ไหมครับ ที่แสงจะกระทบแล้วเข้ามาที่กล้องแล้วก็ตัดแสงทิ้ง   ฉะนั้น เมื่อแฟลชมันไปยิงใส่เสื้อสีดำ การสะท้อนแสงก็ย่อมน้อยผิดปกติอยู่แล้ว กว่าแสงแฟลชจะตัด ก็ทำให้ภาพออกมา แสงแฟลชมัน ก็จะ over ไงครับ ฉะนั้น จึงต้องปรับไปทาง under (-1,-2,-3,ฯ)

ภาพนี้ไม่ได้เปิดแฟลช
ภาพนี้เปิดแฟลช

จากภาพตัวอย่างทั้งสองภาพ จะเห็นว่าภาพฉากหลัง หรือท้องฟ้าจะใกล้เคียงกันมาก เพราะใช้ค่าแสงที่วัดเท่าๆกัน แต่ภาพล่างเปิดแฟลชยิงไปที่เรือด้วย ทำให้เห็นเรือสว่างกว่า และฉากท้องฟ้าด้านหลัง ก็ยังคงสว่างเช่นเดียวกันครับ




ตอนแรกคิดว่าจะพิมพ์แค่สั้นๆ เอาเข้าจริงๆ ก็ต้องอธิบายยาว หวังว่าจะเข้าใจกันนะครับ

แดดร้อนรักษาสุขภาพ มีความสุขกับการถ่ายภาพ และคอมเม้นท์กันบ้างนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายมือทะลุจอ

วันนี้ยุ่งๆ ไม่ได้อัพบล็อค(เว็บ) เลยครับ อีกทั้งความยุ่งทำให้คิดไม่ออกว่า จะเขียนอะไรดี เรื่องไหนก่อนดีอากาศด้วย แทบจะไม่อยากทำอะไร(พิมพ์บทความนี้ 3 รอบ พอพิมพ์เร็วๆแล้วเปลี่ยนภาษา มันเน่าไปเลย ต้องมาพิมพ์ใหม่อีก)

เมื่อมาเช็คดู ก็พบว่ามีคนเข้ามาแล้วคงเห็นว่าไม่มีอะไรอัพเดตจึงปิดออกไปเลย จึงสงสัยว่าคงเริ่มมีคนสนใจเว็บหรือบล็อคนี้บ้างแล้ว จึงต้องหาเรื่องเขียน

วันนี้ขอเรื่องนี้แล้วกัน เริ่มด้วย ภาพถ่ายนี้ครับ อิอิ

ภาพถ่าย 1


เป็นรูปภาพแปลกๆไหมครับ เหมือนมือมันทะลุเข้าไปในจอ น่าจะชอบใจกันนะครับ เพราะเอาไปเล่นได้ ยังไม่ค่อยเห็นในสังคมออนไลน์ด้วย

เล่าเรื่องที่มาหน่อยนึง ภาพนี้เพื่อนผมฝากผมซื้อหวย แต่ผมไม่ได้เล่นนะครับ เล่นทีไรไม่เคยถูก เสียเงินทุกที อิอิ เมื่อเพื่อนฝากซื้อมาผมจึงถ่ายรูปนี้ไว้เล่นๆ กะเป็นหลักฐานด้วยว่าเล่นเลขนี้นะ ไม่ได้ผิดนะ

วิธีการถ่าย ไม่ยากเลยครับแต่หลายขั้นตอนหน่อยนึง
ขั้นแรกให้ปิดไอคอนที่เดสท็อป(icon on desktop)ออกให้หมด และย่อหน้าโปรแกรมลงมาให้หมด (ความจริงไม่ทำก็ได้ครับ แต่หน้าจอโล่งๆ น่าจะน่าสนใจกว่า)

ขั้นต่อมา เอามือมาถ่ายรูปอย่างนี้
ภาพถ่าย 2

ถ่ายยังงี้เปล่าๆเลยครับ (พิมพ์หน้านี้ครั้งที่ 4 แล้วเพราะพิมพ์เร็วเปลี่ยนภาษาเร็วๆ เน่าทุกทีเฮ้อ)

ขั้นต่อมาเมื่อได้ภาพอย่างนี้แล้ว โหลดลงคอมพิวเตอร์ครับ แล้วก็เปิดภาพมา แล้วต่อด้วยการเปิดโปรแกรมที่ต้องการครับ ให้อยู่ในฝ่ามือพอดี เสมือนเราจัดสิ่งนั้นอยู่ครับ

แล้วสามารถทำได้ สองวิธีคือ หยิบกล้องมาถ่ายใหม่ และ จัดภาพจากหน้าจอ

ถ้าจับภาพจากหน้าจอจะชัดกว่า สีสรรก็ดีกว่า เพราะเมื่อแสดงผลจากจอมันดรอปลงไปครับ ใช้ได้ทั้งสองวิธีนะครับ

จากนั้นก็จะได้ภาพสวยๆอย่าง ภาพถ่าย 1* แล้วครับ
เรียกว่าสวยไหมนะ เรียกว่าแปลกน่ะแน่นอนเลยครับ

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพ และโชคดีได้แสงดีๆนะครับ

เมื่อท่านเยี่ยมชมแล้วโปรดคอมเม้นท์ ^_^

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพกลางคืนในรถ

สวัสดีครับ วันนี้จะโชว์รูปภาพที่ถ่ายกลางคืนในรถยนต์นะครับ   ก็จะได้ภาพที่แปลกตา เช่นนี้


ภาพถ่ายกลางคืนในรถ 1

แปลกๆตาดีไหมครับ หุหุ ลองดูอีกภาพ


ภาพถ่ายลักษณะนี้ ตัวรถจะชัดดี แต่นอกรถจะเป็นเส้นๆ แปลกตา เทคนิคการถ่ายภาพก็ง่ายๆครับ วางขาตั้งกล้องในรถ ยึดให้มั่นคงตั้ง ISO ต่ำไว้ สองภาพนี้ถ่ายด้วย ISO 100 วัดแสง แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เสียบสายลั่นชัตเตอร์ แบบตั้งโปรแกรมได้ ก็ตั้งเวลาหน่วงไว้ แล้วก็เริ่มขับรถเลยครับ ภาพนี้ใช้ speed shutter ประมาณ 20-30 วินาที ก็จะได้ภาพสีสรรค์ แปลกตาอย่างนี้

ข้อควรระวัง ตั้งกล้องให้มั่นคงนะครับ เพราะรถต้องเคลื่อนไปตลอด อาจจะหล่นร่วงเกิดความเสียหายได้ และถ้าไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ ตั้งโปรแกรมต่างๆให้เรียบร้อยก่อนออกรถ ปรับโฟกัสให้เรียบร้อยก่อน แล้วจังหวะกดให้มั่นใจว่าปลอดภัยนะครับ ไม่เช่นนั้นจังหวะ เอื้อมไปกด อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ 

หวังว่าจะสนุกกับการถ่ายภาพ สวัสดี

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพกลางคืน light paint

การถ่ายภาพกลางคืน มีด้วยกันหลายเทคนิค ที่จะสร้างสรรค์ภาพให้ดูน่าสนใจ

ภาพถ่ายกลางคืน
ภาพนี้ถ่ายเวลากลางคืน แทบจะมืดสนิท เป็นเครื่องลับใบมีด โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Light painting

โดยการใช้ไฟฉาย ฉายส่องไปที่วัตถุที่เราต้องการ เพื่อเพิ่ม รายละเอียดส่วนที่มืดให้สว่างขึ้นมาในภาพนะครับ







อุปกรณ์ที่ใช้


  • ขาตั้งกล้อง หรือถุงทราย อะไรก็ได้ วางให้มั่นคง
  • คนช่วยกด หรือสายลั่นชัตเตอร์ สำหรับ กดชัตเตอร์นานๆ (หรือชัตเตอร์B) 
  • ไฟฉาย
  • กระดาษแก้ว หรือกระดาษสี สำหรับเพิ่มสีสรรค์ให้ภาพโดยไม่ต้องใช้ photoshop
ภาพนี้มืดมาก แทบ
วัดแสงไม่ได้จริงๆ  วัดได้ก็เวลา นานมาก ก็ใช้กะเวลาว่าเราจะวาดแสงด้วยไฟฉาย ครบทั้งภาพที่ต้องการ ในเวลาประมาณเท่าไร
ลองฉายไฟฉายเพิ่มหาโฟกัส ปรับเป็นแบบ แมนน่วล (manual focus) เพราะระบบออโต้โฟกัสจะหาโฟกัสไม่เจอ เมื่อได้โฟกัส ลองถ่าย แบบ iso สูงๆ ซัก 2-3 ภาพ เพื่อดูภาพเบื้องต้น ดู composition ของภาพ

จากนั้นทำการถ่ายภาพ แล้วก็เริ่มใช้ไฟฉาย ฉายๆไปเรื่อยๆ  ภาพนี้ผมใช้กระดาษแก้วปิดที่หน้าไฟฉายด้วย เพื่อให้มีสีๆ อย่างที่เห็นในภาพนี้ครับ
ส่วนเวลาว่าจะฉายไฟฉายนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแรงของไฟฉาย ระยะห่าง ซึ่งคำนวณได้ยาก ใช้ประสบการณ์เลยดีกว่าครับ

ลองถ่ายดู และหวังว่าจะสนุกกับมัน


แล้วพบกันใหม่ครับ สวัสดี